ไม่มีบทความ
ไม่มีบทความ

เทคโนโลยี คืออะไร

.......เทคโนโลยี โดยทั่วไปมักคำนึงถึงเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่แปลกใหม่ทันสมัย สลับซับซ้อนไปด้วยเครื่องยนต์ กลไก ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ราคาค่อนข้างสูง ทำให้เข้าใจว่าเครื่องมือเหล่านี้จะช่วยแก้ปัญหาในการดำเนินงานได้ แต่แท้จริงแล้ว คำว่า “เทคโนโลยี” มีความหมายมากไปกว่าเครื่องมือหรืออุปกรณ์
.......สรุป เทคโนโลยี คือ การนำเอาขบวนการ วิธีการ และแนวความคิดใหม่ ๆ มาใช้หรือประยุกต์ใช้อย่างมีระบบเพื่อให้เกิดการดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

การศึกษากับการเรียนรู้ต่างกันอย่างไร

.......การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากเดิมไปสู่พฤติกรรมใหม่ที่ค่อนข้างถาวร พฤติกรรมใหม่นี้เป็นผลมาจากประสบการณ์หรือการฝึกฝน มิใช่เป็นจากการตอบสนองทางธรรมชาติ สัญชาตญาณ วุฒิภาวะ หรือความบังเอิญ การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทั้งจากประสบการณ์ทางตรง เช่น เด็กถูกน้ำร้อนลวก จึงรู้ว่าน้ำร้อนอย่างไร การกินเกลือ จึงรู้ว่าเกลือมีรสเค็ม และประสบการณ์ทางอ้อม เป็นประสบการณ์ที่ผู้เรียนไม่พบหรือสัมผัสด้วยตนเองโดยตรง แต่อาจได้รับประสบการณ์จากการอบรมสั่งสอน การบอกเล่า การอ่านหนังสือ การรับรู้จากสื่อมวลชน เช่น หนังสือพิมพ์ ทีวี ฯลฯ
.........การศึกษา คือ กระบวนการสร้างสมและถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ของมนุษย์ เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในด้านดี เป็นความหมายที่จะเพิ่มคุณภาพชีวิตโดยมุ่งให้บุคคล และสังคมมีความสุข ความเจริญ มีความเข้าใจอันดีต่อกัน
.........การศึกษาคือชีวิต หรือชีวิตคือการศึกษา มีการเปลี่ยนแปลงตามสภาพการณ์อยู่ตลอดเวลา การศึกษามิใช่การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนหรือจากครูผู้สอน หากเกิดการเรียนรู้ได้ไม่ว่าที่ไหน เมื่อไร ด้วยวิธีการใด และยังเปลี่ยนความคิดที่จะทำให้ผู้เรียนมุ่งเรียนแต่เนื้อหาด้านความรู้จากครูในโรงเรียน มาเป็นการเน้นให้ผู้เรียน เรียนด้วยวิธีการคิดและวิธีการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง

สื่อการสอนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีอย่างไร

.......สื่อการสอน หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ หรือวิธีการใด ๆ ก็ตามที่เป็นตัวกลางหรือพาหะในการถ่ายทอดความรู้ ทัศนคติ ทักษะและประสบการณ์ไปสู่ผู้เรียนสื่อการสอนแต่ละชนิด จะมีคุณสมบัติพิเศษและมีคุณค่าในตัวมันเองในการเก็บและแสดงความหมายที่เหมาะสมกับเนื้อหาและเทคนิควิธีการใช้อย่างมีระบบ
.......คำว่า “สื่อ” (Media) เป็นคำที่มาจากภาษาละตินว่า “medium” แปลว่า “ระหว่าง” หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่บรรจุข้อมูลเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับสามารถสื่อสารกันได้ตรงตามวัตถุประสงค์ เมื่อมีการนำสื่อมาใช้ในกระบวนการเรียน การสอนก็เรียกสื่อนั้นว่า “สื่อการเรียนการสอน” (Instruction Media) หมายถึง สื่อชนิดใดก็ตามที่บรรจุเนื้อหา หรือสาระการเรียนรู้ซึ่งผู้สอนและผู้เรียนใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้เนื้อหา หรือ สาระนั้น ๆ การเรียนการสอนในภาพลักษณ์เดิม ๆ มักจะเป็นการถ่ายทอดสาระความรู้จากผู้สอนไปยังผู้เรียน โดยใช้สื่อ การเรียนการสอนเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ทักษะและประสบการณ์ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปแล้วว่าการเรียนรู้ไม่ได้จำกัด อยู่ เฉพาะในห้องเรียน หรือในโรงเรียน ผู้สอนและผู้เรียนสามารถเรียนรู้จากสื่อต่าง ๆ อย่างหลากหลาย สามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลาและทุกสถานที่ สื่อที่นำมาใช้เพื่อการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงเรียกว่า “สื่อการเรียนรู้” ซึ่งหมายถึงทุกสิ่ง ทุกอย่างที่มีอยู่รอบตัวไม่ว่าจะเป็นวัสดุ ของจริง บุคคล สถานที่ เหตุการณ์ หรือความคิดก็ตาม ถือเป็น สื่อ การเรียนรู้ทั้งสิ้น ขึ้นอยู่กับว่าเราเรียนรู้จากสิ่งนั้น ๆ หรือนำสิ่งนั้น ๆ เข้ามาสู่การเรียนรู้ของเราหรือไม่

......สิ่งที่สำคัญที่สุดในการเรียนรู้คือ การให้ผู้เรียนเรียนอย่างสนุกมีความสุขในการเรียน ซึ่งการใช้เทคโนโลยีสามารถช่วยให้ผู้เรียน กระหายในการเรียนรู้เพื่อนำไปสู่จุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ได้ โดยทั่วไปแล้วเทคโนโลยีจะใช้ในการเรียนการสอนใน 3 ลักษณะ ได้แก่
......1. การเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี (learning about technology) เช่นการเรียนรู้เกี่ยวกับระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ เรียนรู้ว่าคอมพิวเตอร์ใช้เพื่อการ ประมวลผล เก็บบันทึก ค้นคืนสารสนเทศได้อย่างไร วิชาเพื่อการเรียนการสอนเกี่ยวกับ เทคโนโลยีมีหลายวิชา เช่น วิชาคอมพิวเตอร์เบื้องต้น หรืออาจเรียนรู้จากเว็บไซต์ เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองในลักษณะมัลติมีเดีย
.......2. การเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี (learning by technology) เป็นการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือเพื่อการเรียนรู้ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อการประมวลผล การใช้ซอฟแวร์คอมพิวเตอร์ในการสร้างบทเรียน การใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อการค้นคว้า หรือสื่อสารข้อมูลทางไกลผ่าน Email และ Internet ได้
.......3. การเรียนรู้ไปกับเทคโนโลยี (learning with technology) เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยี เรียนรู้ว่าขณะนี้ เทคโนโลยี มีความก้าวไกล ไปถึงไหนบ้างแล้ว ทั้งทางด้านวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ เช่น ซอฟต์แวร์ใหม่ ๆ เครื่อง Tablet PC ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ ไร้สายที่ผู้ใช้สามารถเขียนลง บนจอภาพ เมื่อเรียนรู้ถึงความใหม่ ทันสมัยของเทคโนโลยี แล้วจะนำมาประยุกต์ใช้ ในวงการต่าง ๆ ได้อย่างไรบ้าง เช่น การใช้กล้องวีดิทัศน์ ถ่ายการสอนส่งไปบน อินเทอร์เน็ต เพื่อให้ผู้เรียนใน สถาบันการศึกษา อื่นเห็นภาพและได้ยินเสียงการสอน การเรียนรู้เทคโนโลยีจึงเป็นสิ่งสำคัญที่บุคคลในยุคสังคมแห่งความรู้จะต้องศึกษาเพื่อก้าว ทันกับdารเปลี่ยนแปลงและใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาดเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการ ดำรงชีวิต การเรียนรู้ตลอดชีวิต และการทำงาน ซึ่งไอซีทีนับเป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่มีส่วน เกี่ยวข้องกับชีวิตของคนเราในปัจจุบันเป็นอย่างมาก และเป็นเทคโนโลยีสำคัญที่ต้อง เรียนรู้ และนำเทคโนโลยีนั้นมาใช้ในวงการต่าง ๆ รวมถึงประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน ได้อย่าง มีประสิทธิภาพ

เทคโนโลยีทางการศึกษาจะช่วยพัฒนาประเทศได้อย่างไร

.......ปัจจุบันมีหลายประเทศที่กำลังพยายามพัฒนาประเทศของตน โดยใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาที่เหมาะสมเป็นแนวทางในการพัฒนkประเทศ
.......เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นวิธีการนำความรู้ แนวความคิด กระบวนการ ตลอดจนเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ อันเป็นผลิตผลทางวิทยาศาสตร์มาใช้ร่วมกันอย่างมีระบบ เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาการศึกษาให้ก้าวหน้าต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ และยังให้เหตุผลว่าเนื่องจากเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญที่ผลักดันให้หลายสิ่งหลายอย่างก้าวหน้าไปอย่างมากและรวดเร็ว รวมทั้งแนวความคิดของคนเราด้วย เทคโนโลยีจึงไดถูกนำมาใช้ในทางการศึกษา ทั้งนี้เพื่อช่วยให้การจัดการดำเนินการทางการศึกษาเป็นไปอย่างมีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ มีผลงาน มีเป้าหมาย ที่ปฏิบัติได้อย่างแท้จริง อันจะวิเคราะห์ สังเคราะห์ การจดการศึกษาให้เป็นแนวทางอย่างแจ่มชัด จัดเพื่ออะไร แก่ใคร และจะทำได้อย่างไร เพื่อเป็นการช่วยพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าทันประเทศเพื่อนบ้าน

ความหมายของระบบ คืออะไร

......ระบบ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า system ส่วนวิธีระบบหรือวิธีเชิงระบบหรือวิธีการจัดระบบ มีความหมายตรงกับภาษาอังกฤษว่า system Approach แปลว่า การเข้าสู่ระบบ โดยการนำวิธีการระบบมาใช้ในงานต่าง ๆ เพื่อให้การดำเนินบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดความชัดเจน จึงให้ความหมายของคำว่าระบบ ดังนี้
......ระบบ คือ ภาพรวมของโครงสร้างหรือขบวนการอย่างหนึ่งที่มีการจัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ ที่รวมกันอยู่ในโครงสร้างหรือขบวนการนั้น ระบบเป็นผลของการรวมหน่วยย่อย ๆ ที่เป็นอิสระจากกันให้มีความสัมพันธ์กัน โดยการจัดระเบียบและสร้างสรรค์เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ในการดำเนินงานทางเทคโนโลยีการศึกษา วิธีระบบที่นำไปใช้ในการจัดสื่อการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบมีความสำคัญในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้เป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นการทำให้โสตทัศนูปกรณ์ที่มีอยู่น่าสนใจ มีความหมายต่อผู้เรียน มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการ คือ
......1. ข้อมูลป้อนเข้า ได้แก่ วัตถุดิบ ปัญหา ความต้องการ วัตถุประสงค์ กฎเกณฑ์ ข้อกำหนด
......2. กระบวนการ ได้แก่ วิธีการปฏิบัติงานอย่างเป็นขั้นตอน อาจเป็นวิธีใดวิธีหนึ่ง หรือหลายวิธีก็ได้ เช่น โครงการอบรม หนังสือวิทยากร คำสั่งปฏิบัติงาน กำหนดการ
......3. ผลลัพธ์ ได้แก่ ผลงานที่ได้มาจากข้อมูลป้อนเข้าและกระบวนการ ที่จะนำไปประเมินผล เช่น ความสำเร็จในการจัดอบรมในโครงการต่าง ๆ เป็นไปตามวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และความคาดหวังของโครงการนั้น ๆ
.......4. ข้อมูลย้อนกลับ ไดแก่ ผลการประเมินการทำงานของระบบ สามารถประเมินย้อนกลับได้ทุกขั้นตอน เช่น ความรู้ที่ผู้เข้ารับการอบรมได้รับ และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม
.......การจัดระบบประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ
......1. การวิเคราะห์ระบบ

......2. การสังเคราะห์ระบบ
......3. การสร้างแบบจำลองและการจำลองสถานการณ์
......ในวงการศึกษาได้นำแนวคิดวิธีระบบมาใช้ในการเรียนการสอน เช่น ระบบการเรียนการสอนของเกอร์ลาสและอีลี ระบบการผลิตชุการสอนแผนจุฬา ระบบการสอนตามแนวพุทธวิธี และนำมาใช้กับสื่อการเรียนการสอนในขั้นตอนการผลิตสื่อ การใช้สื่อ และการเก็บรักษาสื่อ นี้เพื่อเป็นการแก้ปัญหาด้านการเรียนการสอนและพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

สรุป ระบบการศึกษา อาจประกอบด้วยหน่วยย่อยๆ หลายหน่วย เช่น การสอนการเรียน การบริหารงาน อาคารสถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เมื่อหน่วยย่อยๆ เหล่านี้ ต่างก็ดำเนินงานตามหน้าที่ของตน เช่นการสอน ครูก็ทำหน้าที่สอน การเรียน นักเรียนก็ทำหน้าที่เรียน ศึกษาหาความรู้ งานบริหาร ผู้บริหารก็ทำหน้าที่วางแผนงาน เพื่อให้งานดำเนินไปด้วยดี รวมทั้งงานของอาคารสถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆเหล่านี้ ได้มีการดำเนินงานร่วมกันอย่างมีความสัมพันธ์กันแล้วก็จะสามารถช่วยให้ระบบการศึกษานั้นบรรลุเป้าหมายที่วางไว้และมีประสิทธิภาพ แต่ถ้าหน่วยย่อยใดหน่วยย่อยหนึ่ง ไม่สามารถปฏิบัติงาน หรือปฏิบัติงานไม่สัมพันธ์กับหน่วยอื่นๆ ก็มีผลทำให้ระบบงานนั้นไม่สามารถทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ จำเป็นต้องมีการตรวจสอบระบบ และปรับปรุงระบบย่อยๆ โดยการกำหนดขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆ ขึ้น เพื่อปรับปรุง หรือเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานนั้นๆ ซึ่งเราเรียกว่า " การจัดระบบ "